หนังสือ

ทำไมถึงสั่งพิมพ์หนังสือ?

เป็นสิ่งพิมพ์ที่รวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม และประสบการณ์ต่างๆ ถ่ายทอดเป็นตัวอักษร แล้วทำการจัดพิมพ์เป็นเล่ม เช่น ตำราเรียน แบบเรียน นิยาย เป็นต้น

กระดาษ

กระดาษอาร์ตการ์ด

ใช้สำหรับการพิมพ์ปกหนังสือ กระดาษเนื้อแน่น ผิวเรียบ เคลือบผิวเป็นมันเงา เป็นกระดาษที่แข็งแรงที่สุด พิมพ์งานได้ใกล้เคียงกับสีจริง กระดาษอาร์ตการ์ดที่นิยมใช้พิมพ์ปกจะมีความหนา 190 / 210 / 230 / 260 / 300 แกรม

กระดาษอาร์ตมัน

ใช้สำหรับการพิมพ์เนื้อในหนังสือ เนื้อกระดาษเรียบ เป็นมันเงา พิมพ์งานได้ใกล้เคียงกับสีจริง กระดาษอาร์ตมันที่นิยมใช้พิมพ์เนื้อในจะมีความหนา 85 / 105 / 130 / 160 แกรม

กระดาษอาร์ตด้าน

เป็นกระดาษเนื้อเรียบ ผิวไม่มัน เวลาอ่านจะไม่สะท้อนเข้าตา เมื่อพิมพ์งานเสร็จสีจะซีดลงเล็กน้อย แต่ดูดี กระดาษอาร์ตด้านที่นิยมใช้จะมีความหนา 85 / 105 / 130 / 160 แกรม

กระดาษปอนด์

ใช้สำหรับการพิมพ์เนื้อในหนังสือ กระดาษเนื้อเรียบ ไม่เคลือบผิว นิยมใช้ในงานพิมพ์สีเดียว หรืองานพิมพ์ 4 สี ก็ได้แต่ไม่สวยเท่ากระดาษอาร์ต กระดาษปอนด์ที่นิยมใช้พิมพ์เนื้อในจะมีความหนา 60 / 70 / 80 / 100 / 120 แกรม

กระดาษถนอมสายตา

ใช้สำหรับการพิมพ์เนื้อในหนังสือ กระดาษเนื้อออกสีครีม ผิวกระดาษไม่เรียบเท่ากระดาษปอนด์ ช่วยดูดกลืน แสงได้ดีทำให้ลดการสะท้อนแสงเข้าตา ประมาณ 15 % ซึ่งทำให้ช่วยถนอมสายตาในการอ่าน ราคาถูก กระดาษถนอมสายตาที่นิยมใช้พิมพ์เนื้อในจะมีความหนา 65 / 75 แกรม

การเคลือบปก

การเคลือบวานิชเงา/ด้าน

เป็นการเคลือบผิวกระดาษให้มีความเงาหรือด้านด้วยน้ำยาวานิช สามารถป้องกันหมึกพิมพ์หลุดจากผิวกระดาษที่เกิดจากการเสียดสีกันเท่านั้น

การเคลือบยูวี

เป็นการเคลือบงานพิมพ์โดยใช้น้ำยาที่มีความเงา แห้งตัวด้วยแสงยูวี ซึ่งการเคลือบแบบนี้จะให้ความเงาสูงกว่าการเคลือบวานิช

การเคลือบพีวีซีเงา

เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยฟิล์มพีวีซีที่มีผิวมันวาว จะทำให้กระดาษที่ เคลือบแล้ว มีความคงทนและยังให้ความเงามากกว่าการเคลือบยูวีอีกด้วย แต่ต้นทุนในการเคลือบจะสูงกว่าการเคลือบยูวี

การเคลือบพีวีซีด้าน

เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยฟิล์มพีวีซีที่มีผิวด้าน คล้ายกับผิวของกระจกฝ้าแต่สามารถมองผ่านทะลุถึงภาพพิมพ์ได้

การเคลือบสปอทยูวี

เป็นการนำฟิล์มโพสสิทีฟถ่ายลงบล็อคสกรีน เคลือบด้วยน้ำยายูวีลงบนชิ้นงานในบริเวณที่เราต้องการเน้นเป็นพิเศษ ซึ่งจะทำให้บริเวณนั้นโดดเด่นสะดุดตา มักทำคู่กับการเคลือบพีวีซีด้าน

การเคลือบ HOLOGRAME

เป็นการเคลือบงานพิมพ์ด้วยฟิล์มพลาสติกเช่นเดียวกันกับการเคลือบพีวีซี แต่แตกต่างกันที่คุณสมบัติของเนื้อฟิล์มที่นำมาใช้จะมีลวดลายหรือลูกเล่นที่ให้ความสวยงามแตกต่างกันไป

การเข้าเล่ม

เย็บมุงหลังคา

เย็บมุงหลังคา ใช้ในงานที่มีจำนวนหน้าน้อยๆ ไม่เกิน 70 หน้า คือการเอากระดาษทั้งเล่มมา เรียงกันและพับครึ่ง จากนั้นเย็บลวดตรงรอยพับ 2 – 3 จุด

ไสกาว

เป็นรูปแบบการเข้าเล่มหนังสือที่นิยมใช้มากที่สุด เรียบร้อย สวยงาม ราคาถูก มักใช้เข้าเล่มหนังสือที่มีจำนวนหน้ามากกว่า 70 หน้าขึ้นไป มีความ แน่นหนาในการเข้าเล่มไม่มาก จึงทำให้ไม่สามารถกางหนังสือออกมากได้ เนื่องจากจะทำให้กระดาษหลุดออกจากไสกาว วิธีเข้าเล่มแบบไสกาว เป็นการนำกระดาษที่เรียงหน้าเรียบร้อยแล้ว มาไสกระดาษด้านข้างก่อนวิ่งผ่านกาว เพื่อจะทำให้ยึดติดกระดาษได้ดี

ไสกาวปกปีก

เป็นการเข้าเล่มแบบเดียวกับการไสกาวปกติ แต่จะมีปีกพับเข้าไปด้านใน หรือด้านนอก ของปกหน้าและปกหลัง หรือปกข้างใดข้างหนึ่ง

เย็บกี่ไสกาว

เป็นการเข้าเล่มหนังสือที่แข็งแรงมากที่สุด เหมาะสำหรับหนังสือที่มี จำนวนหน้ามากๆ นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการความคงทน ด้วยการ เย็บหนังสือด้วยด้ายให้ติดกันเป็นทีละยกแล้วนำไปไสกาวต่อไป

เย็บกี่สันเปลือย

คล้ายกับงานเย็บกี่ไสกาว สามารถเห็นรายละเอียด ของการเข้าเล่มหนังสือ มีความแข็งแรง สามารถกางได้ 180 องศา นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการความแปลกใหม่

ขั้นตอนพิเศษ

ปั๊มฟอยล์ หรือ Hot Stamp

เป็นการเพิ่มมูลค่างานพิมพ์ โดยการใช้ความร้อนจากแท่นเครื่องทำให้ฟอยล์ ละลายจากพลาสติก ไปเคลือบติดบนสิ่งพิมพ์ต่างๆ นิยมปั๊มเป็นโลโก้ หรือชื่อหนังสือ

ปั๊มนูน

เป็นการขึ้นรูปกระดาษโดยการกดทับกระดาษให้นูนขึ้นได้รูปลักษณ์ตามแบบ ของแม่พิมพ์ที่ใช้กดทับโดยนิยมปั๊มนูนที่โลโก้หรือข้อความที่ต้องการเน้น ความสำคัญ

ปั๊มจม

เป็นการขึ้นรูปกระดาษโดยการกดทับกระดาษให้ลึกลงได้รูปลักษณ์ตามแบบของแม่พิมพ์ที่ใช้กดทับ สร้างลวดลายเพิ่ม ดูมีมิติ มีพื้นผิวแปลกตา